ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

                 ภาคอีสาน (มาจากภาษาบาลีหรือภาษาสันสกฤต ऐशान aiśāna แปลว่า "ตะวันออกเฉียงเหนือ") หรือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นภูมิภาคหนึ่งในประเทศไทย ตั้งอยู่บนแอ่งโคราชและแอ่งสกลนคร มีแม่น้ำโขงกั้นประเทศลาวทางทิศเหนือและตะวันออกของภาค ทางทิศใต้มีเทือกเขาพนมดงรักกั้นประเทศกัมพูชาและภาคตะวันออกของประเทศไทย และมีเทือกเขาเพชรบูรณ์และเทือกเขาดงพญาเย็นเป็นแนวกั้นทางตะวันตกแยกจากภาคกลาง

                  ภาคอีสานยังมีเนื้อที่มากที่สุดของประเทศไทย ประมาณ 168,854 ตารางกิโลเมตร หรือมีเนื้อที่ร้อยละ 33.17 เทียบได้กับหนี่งในสามของพื้นที่ทั้งหมดของประเทศไทยได้จัดว่าเป็นพื้นที่ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย เทือกเขาที่สูงที่สุดในภาคอีสานคือ ยอดภูลมโล ภูหลวง และภูกระดึง ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำสายสำคัญของชาวอีสานในหลายจังหวัดด้วยกัน เช่น แม่น้ำห้วยหลวง แม่น้ำชี ลำตะคอง แม่น้ำพอง แม่น้ำเลย แม่น้ำพรม แม่น้ำมูล แม่น้ำสงคราม

                   ภาษาหลักของภาคนี้ คือ ภาษาอีสานซึ่งเป็นภาษาลาวสำเนียงหนึ่ง ส่วนภาษาไทยกลางนิยมใช้กันแพร่หลายโดยเฉพาะในเมืองใหญ่ ขณะเดียวกันยังมีภาษาเขมรที่ใช้กันมากในบริเวณอีสานใต้ นอกจากนี้ มีภาษาถิ่นอื่น ๆ อีกมาก เช่น ภาษาผู้ไท ภาษาโส้ ภาษาไทยโคราช ภาษากวย (ส่วย) เป็นต้น ภาคอีสานยังมีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมที่โดดเด่น เช่น อาหาร ภาษา ดนตรีหมอลำ ดนตรีกันตรึม ดนตรีเจรียง และศิลปะการฟ้อนรำที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะ เป็นต้น

การแบ่งเขตการปกครอง

                    ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หรือ ภาคอีสาน ประกอบด้วย 20 จังหวัด ได้แก่ กาฬสินธุ์ ขอนแก่น ชัยภูมิ นครพนม นครราชสีมา บุรีรัมย์ มหาสารคาม มุกดาหาร ยโสธร ร้อยเอ็ด เลย ศรีสะเกษ สกลนคร สุรินทร์ หนองคาย หนองบัวลำภู อำนาจเจริญ อุดรธานี อุบลราชธานี และน้องใหม่ บึงกาฬ มีพื้นที่ประมาณ 170,226 ตารางกิโลเมตร หรือ 1 ใน 3 ของพื้นที่ทั้งประเทศ ตั้งอยู่บนที่ราบสูงโคราช ภูมิประเทศทั้งภาคยกตัวสูงเป็นขอบแยกตัวออกจากภาคกลางอย่างชัดเจน
                    ประกอบด้วยเทือกเขาสูงทางทิศตะวันตกและทิศใต้ เทือกเขาทิศตะวันตกมีความสูงเฉลี่ย 500-1,000 เมตร เหนือระดับน้ำทะเล มียอดเขาที่สูงที่สุดในภาคอีสานคือ ยอดภูหลวง มีความสูง 1,571 เมตร และภูกระดึงสูง 1,325 เมตร เป็นแหล่งต้นน้ำของแม่น้ำหลายสาย ได้แก่ แม่น้ำพอง แม่น้ำเลย แม่น้ำพรม แม่น้ำชี และลำตะคอง ทางด้านทิศใต้มีเทือกเขาสันกำแพง และเทือกเขาพนมดงรัก กั้นระหว่างภาคอีสานของไทย กับกัมพูชา และลาว มีความสูงเฉลี่ย 400-700 เมตร ยอดเขาเขียวเป็นยอดเขาที่สูงที่สุดอยู่ทางตอนใต้ สูงประมาณ 1,292 เมตร ทำให้ภาคอีสานถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ
  1. แอ่งโคราช ได้แก่บริเวณแถบลุ่มแม่น้ำชีและแม่น้ำมูล กินบริเวณ 3 ใน 4 ของภาคอีสานทั้งหมด
  2. แอ่งสกลนคร ได้แก่บริเวณตอนเหนือของเทือกเขาภูพาน และบริเวณที่ราบลุ่มน้ำโขง
โดยแบ่งจังหวัดออกตามกลุ่มอนุภาคเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ได้แก่
กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ประกอบด้วย
  • กลุ่มย่อยที่ 1 อุดรธานี หนองบัวลำภู หนองคาย เลย บึงกาฬ
  • กลุ่มย่อยที่ 2 มุกดาหาร สกลนคร นครพนม กาฬสินธุ์
  • กลุ่มย่อยที่ 3 ขอนแก่น มหาสารคาม ร้อยเอ็ด
กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ประกอบด้วย
  • กลุ่มย่อยที่ 1 นครราชสีมา ชัยภูมิ บุรีรัมย์ สุรินทร์
  • กลุ่มย่อยที่ 2 อุบลราชธานี อำนาจเจริญ ศรีสะเกษ ยโสธร

ประชากรศาสตร์

ความหนาแน่นของประชากร

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นภาคที่มีประชากรหนาแน่นเป็นที่ 2 ของประเทศ รองจากภาคกลาง บริเวณที่มี ประชากรหนาแน่นมากจะอยู่ในจังหวัดที่ตั้งอยู่บริเวณที่ราบอันกว้างใหญ่ และเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ จังหวัดที่มี ประชากรหนาแน่นที่สุด ได้แก่ จ.มหาสารคาม จังหวัดที่มีความหนาแน่นรองลงไปได้แก่ สุรินทร์ ศรีสะเกษ ขอนแก่น ร้อยเอ็ด บุรีรัมย์ กาฬสินธุ์ ยโสธร นครพนม อุดรธานี หนองบัวลำภู นครราชสีมา หนองคาย อำนาจเจริญ สกลนคร อุบลราชธานี ชัยภูมิ มุกดาหาร และเลย ซึ่งมีความหนาแน่นน้อยที่สุดในภาค

การเพิ่มของประชากร

ประชากรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีอัตราการเกิดสูง เป็นภาคที่มีครอบครัวขนาดใหญ่ เมื่อพิจารณาถึง ภาวะการเจริญพันธุ์ตั้งแต่ พ.ศ. 2525 เป็นต้นมา พบว่าภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นภาคที่มีภาวะการเจริญพันธุ์สูงที่ สุด เมื่อเทียบกับภาคอื่น ๆ คือ มีอัตราการเพิ่มร้อยละ 1.05 จังหวัดที่มีอัตราการตายต่ำสุด ได้แก่ จ.อุดรธานี บุรีรัมย์ และนครราชสีมา ส่วนจังหวัดที่มีอัตราการตายสูง ได้แก่ จ.นครพนม สกลนคร และเลย

การอพยพย้ายถิ่นของประชากร

ตอนบนของภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นภูมิภาคที่มีจำนวนประชากรอพยพย้ายถิ่นภายในภูมิภาคสูงมาก เป็นการอพยพย้ายถิ่นจากจังหวัดตอรนล่างซึ่งมีประชากรหนาแน่นกว่า ที่ดินขาดความอุดมสมบูรณ์ทำให้ได้ผลผลิตต่ำ ประชากรยากจน ซึ่งได้แก่เขต จ.มหาสารคาม ร้อยเอ็ด กาฬสินธุ์ ขอนแก่น ไปจนถึงจังหวัดตอนบน คือ จ.หนองคาย อุดรธานี หนองบัวลำภู และเลย

ส่วนตอนล่างของภาคมีการอพยพย้ายถิ่นในภูมิภาคน้อย เป็นการอพยพย้ายถิ่นจาก จ.นครราชสีมา ศรีสะ เกษ และสุรินรินทร์ ไปจนถึง จ.ชัยภูมิ ซึ่งมีพื้นที่ปลูกพืชไร่กว้างขวางและต่อไปยังบุรีรัมย์ ซึ่งมีพื้นที่การทำนามาก แต่ ประชากรหนาแน่นน้อยกว่าที่อื่น จ.นครราชสีมาซึ่งเปรียบดังประตูสู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือก็มีประชากรเพิ่มมากขึ้น อย่างรวดเร็ว

อย่างไรก็ตามประชากรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือนั้นยังจัดว่าเป็นประชากรที่มีการอพยพย้ายถิ่นกระจาย ออกไปในภูมิภาคต่าง ๆ มากที่สุด โดยเฉพาะเข้ามายังภาคกลางและกรุงเทพฯ เพื่อมาหางานทำเป็นสำคัญ ส่วนมากยังมี ลักษณะเป็นการย้ายชั่วคราว ซึ่งยังคงมีการย้ายเข้าออกอยู่ตลอดเวลา

วัฒนธรรมท้องถิ่นภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

                   ชนพื้อนเมืองถิ่นอีสานดำรงชีวิตอย่างเรียบง่ายมีโครงสร้างทางสังคมและวัฒนธรรมป็นเอกลักษณ์บนพื้นฐานประวัติศาตร์อันยาวนาน วัฒนธรรมต่างๆ ของภาคอีสายเป็นการนำแนวความคิด ความศรัธา และความเชื่อที่ได้สั่งมลืบทอดเป็นมรดกต่อกันมา ตัวอย่างวัฒนธรรมในด้านต่างๆๆ มีดังนี้
1.ด้านอาหาร สำหรับกรรมวิธีการปรุงแต่งอาหารพบว่าชาวอานมีวิธีปรุงอาหารโดยเก็บพืชผักมาประกอบรวมกับเนื้อสัตว์ แล้วทำให้สุก เช่น นึ่ง ต้ม ย่าง เป็นต้น และเรียกอาหารที่ระกอบล้วได้ 18 วิธี เช่น แกงอ่อม อ็อ หมกยำ ส่า คั่ว หลู้ ป่น หลน ซุบ เนียน ลาบ ก้อย แจ่ว หลาม เป็นต้น
2.ด้านาสนาละความเชื่อ บุญบั้งไฟเป็นประเพณีสำคัญของชาวอีสาน นิยมทำในเทศกาลเดือนห้าฟ้าหก จากความเชื่อในเรื่องของสิ่งลี้ลับและเทวดาหรือพญาแถนที่อยู่บนสวรรค์ สามารถบันดาลให้ฝนตกฟ้าร้องได้ จึงมีการจัดพีธีบูชาพญาแถนทุกปีด้วยการทำบั้งไฟ
การแห่ผีตาโขนที่อำเภอด่านช้าง จังหวัดเลย ผู้เล่นจะนำรูปหน้ากากที่มีลักษณะน่าเกลียดน่ากลัวมาวมและแต่งตัวมิดชิด ลัวเข้าขบวนแห่แสดงท่าทางต่างๆ ที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว ภาคตะวันออกเฉียงเหนอยังมีประเพณี งานบุญละเทศกาลที่สำคัญอีกจำนวนมาก เช่น งานบุญพระเวสหรือบุญมหาชาติ จังหวัดร้องเอ็ดงานบุญข้าวสากหรือบุญเดือนสืบ จังหวัดยโสธร ประเพณีการแห่ปรสารทผึ่ง จังหวัดสกลนคร และประเพณีไหลเรือไฟ จังหวักนครพนม
3.ด้านที่เกี่ยวกับการดำรงชีวิตางการเกตรได้แก่ งาบุญคูนหลาน เมื่อชาวนาในพื้นที่ถิ่นอีสานเก็บเกี่ยวข้าวเสร็จ ก็จะมัดข้าวที่เกี่ยวเป็นฟ่อน และนำฟ่อนข้าวมารวมกองไว้ที่ลานเพื่อนวด และเมื่อนวกข้าวเสร็จ็นอยมทำกองข้าวที่นวดให้สูงขึ้นจากพื้นลานเรียกว่า คูหลาน ผู้ที่ได้ข้าวมากมักจะจัดทำบุญกองข้าวขึ้นที่ลาน

สถานที่ท่องเที่ยวภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ภูกระดึง จังหวัดเลย

                 ภูกระดึง หรือ อุทยานแห่งชาติภูกระดึง จังหวัดเลย เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่ได้รับความนิยมมากแห่งหนึ่งของเมืองไทย เพราะมีสภาพธรรมชาติสมบูรณ์ประกอบด้วยระบบนิเวศและภูมิประเทศหลากหลายทั้ง ทุ่งหญ้า ป่าสนเขา ป่าดิบ น้ำตกและหน้าผาชมทิวทัศน์ในแต่ละปีจะมีนักท่องเที่ยวแวะเวียนไปสัมผัสความ งามของสถานที่แห่งนี้มากมาย ซึ่งเส้นทางขึ้นภูกระดึงจุค่อนข้างชัน นักท่องเที่ยวจะต้องค่อย ๆ เดินขึ้นเขาไปเรื่อย ๆ โดยจะมีจุดแวะพักที่ "ซำ" หมายถึง บริเวณที่มีแหล่งน้ำใต้ดินผุดขึ้นมาแต่ละจุดมีเครื่องดื่มและอาหารบริการ ทั้งหมดนี้เป็นแรงจูงใจให้นักท่องเที่ยวปรารถนาจะเป็นผู้พิชิตยอดภูกระดึง สักครั้งหนึ่งในชีวิต เพื่อทดสอบแรงกายและแรงใจ

                 สำหรับจุดท่องเที่ยวที่น่าสนใจบนภูกระดึง เช่น ผานกแอ่น เป็น จุดชมพระอาทิตย์ขึ้นที่งดงามมากแห่งหนึ่ง สามารถมองเห็นทิวทัศน์เบื้องล่างซึ่งเป็นท้องทุ่งและเทือกเขา ริมทางเดินใกล้ผานกแอ่นมีดอกกุหลาบป่าขึ้นเป็นดงใหญ่ ซึ่งบานสะพรั่งในเดือนมีนาคม-เมษายน, ผาหล่มสัก เป็นลานหินกว้าง และมีสนต้นใหญ่อยู่ใกล้กับชะง่อนหินที่ยื่นออกไปจากหน้าผา เป็นสถานที่ชมพระอาทิตย์ตกได้ชัดเจนที่สุด จึงทำให้นักท่องเที่ยว ช่างภาพนิยมไปถ่ายภาพเป็นที่ระลึก ผาแห่งนี้ถือเป็นสัญลักษณ์ของภูกระดึง

                 ป่าปิด เป็นพื้นที่ที่มีความเปราะบางปกคลุมด้วยป่าดงดิบ มีลำธารหลากสายและน้ำตกสวยงามมากมาย ได้แก่ น้ำตกขุนพอง และน้ำตกผาน้ำผ่า เป็นต้น เปิดให้บริการแก่นักท่องเที่ยวในเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนมกราคมของทุกปี นอกจากนี้ ภูกระดึงยังมีสถานที่ท่องเที่ยวอื่น ๆ ด้วย เช่น ผาหมากดูก, น้ำตกวังกวาง, น้ำตกเพ็ญพบใหม่, น้ำตกโผนพบ, น้ำตกเพ็ญพบ, น้ำตกถ้ำใหญ่, น้ำตกธารสวรรค์, น้ำตกถ้ำสอเหนือ, น้ำตกถ้ำสอใต้ และสระอโนดาต เป็นต้น

                 อย่างไรก็ตามภูกระดึงจะปิดฤดูการท่องเที่ยวตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน-30 กันยายนของทุกปี และเปิดฤดูการท่องเที่ยว ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม-31 พฤษภาคมของทุกปี สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ อุทยานแห่งชาติภูกระดึง โทรศัพท์ 0 4287 1333, 0 4287 1458-9 เว็บไซต์ สำนักอุทยานแห่งชาติ หรือ ททท. สำนักงานเลย (เลย, หนองบัวลำภู) โทรศัพท์ 0 4281 2812, 0 4281 1480 เว็บไซต์ tourismthailand.org


สามพันโบก จังหวัดอุบลราชธานี

                  สามพันโบก จังหวัดอุบลราชธานี สถานที่ที่ถูกเรียกว่า "แกรนด์แคนยอนเมืองไทย" ด้วย มีลักษณะของความงามของแก่งหินขนาดใหญ่ในลำน้ำโขง และวิถีชีวิตริมคลองสองฝั่งโขงนั้นงดงาม จนน่ามหัศจรรย์ไม่แพ้แกรนด์แคนยอน รัฐแอริโซนา สหรัฐอเมริกา โดยสามพันโบกเป็นแก่งหินที่อยู่ใต้ลำน้ำโขง เนื่องจากในช่วงฤดูน้ำหลากแก่งหินแห่งนี้จะจมอยู่ใต้บาดาล และด้วยแรงน้ำวนกัดเซาะทำให้แก่งหินกลายเป็นแอ่งเล็กใหญ่ จำนวนมากกว่า 3,000 แอ่ง หรือสามพันโบก โดยคำว่า "โบก" ภาษาท้องถิ่นนั้นแปลได้ว่า "แอ่ง" จนเป็นที่มาของชื่อ "สามพันโบก" ในช่วงหน้าแล้งสามพันโบกจะโผล่พ้นน้ำให้เห็นเป็นคล้ายภูเขากลางลำน้ำโขง ความสวยงามวิจิตรของหินที่ถูกน้ำเซาะมองเห็นเป็นภาพศิลปะ บางแอ่งใหญ่ขนาดเป็นสระว่ายน้ำ บางแอ่งขนาดเล็ก มีรูปร่างลักษณะที่แตกต่างกันออกไปตามจินตนาการที่สวยงามและน่าอัศจรรย์


                 นอกจากนี้ที่นี่ยังเป็นแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์น้ำจืดในลำน้ำโขงตามธรรมชาติที่ใหญ่ที่ สุด ทำให้เกิดงานประเพณีที่น่าสนใจของชาวบ้านสองคอน คือ ประเพณีตักปลาในช่วงเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ ที่ปากบ้อง ไปชมการจับปลาที่แปลกประหลาดกว่าที่อื่น ๆ ด้วยการใช้สวิงขนาดใหญ่ด้ามยาวคอยตักปลาที่จะว่ายผ่านปากบ้องทวนกระแสน้ำ เพื่อขึ้นไปวางไข่เป็นอีกหนึ่งประเพณีที่น่าสนใจ

                 สำหรับนักท่องเที่ยวที่ต้องการสัมผัสความงามของแก่งสามพันโบกทั้งช่วงเช้า ตรู่และช่วงยามเย็นพระอาทิตย์อัสดง ก็จำเป็นต้องหาและจองที่พักล่วงหน้า โดยที่พักส่วนใหญ่จะอยู่บริเวณริมหาดสลึง จุดลงเรือท่องเที่ยวนั่นเอง มีที่พักสวยหลากสไตล์ทั้งแบบเห็นวิวหาดทรายและแม่น้ำโขงแบบใกล้ชิด หรือที่พักราคาประหยัดก็มีให้บริการ ในด้านอาหารการกินก็ไม่ต้องกังวล เพราะที่หาดสลึงก็มีร้านอาหารอร่อยมากมายบริการคุณทั้งเมนูปลาแม่น้ำโขง อาหารไทยตามสั่งทั่วไป อาหารพื้นบ้าน และอาหารอีสานมากมายให้คุณเลือกชิมกันจนอิ่มหนำสำราญ

                ทั้งนี้การเที่ยวชมสามพันโบกสามารถเลือกได้สองวิธี คือ นั่งเรือชมวิวไปเรื่อย ๆ ระยะทางประมาณ 4 กิโลเมตร ไปจนถึงสามพันโบก หรือจะขับรถไปจนถึงสามพันโบกเลยก็ได้สำหรับคนที่มีเวลาเที่ยวน้อย แต่นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่จะนิยมนั่งเรือชมวิวสวยสองฟากฝั่ง และยังมีสถานที่เที่ยวน่าสนใจก่อนถึงสามพันโบกให้ได้ตื่นตาตื่นใจอีกด้วย เช่น หาดสลึง หาดทรายริมฝั่งแม่น้ำมูล ในฤดูแล้งน้ำโขงลดลงจะเผยมีหาดทรายสวยงาม เหมาะแก่การนั่งพักผ่อนสบาย ๆ ยามที่น้ำแห่งจัด ๆ จะเผยหาดทรายยาวตลอดแนวถึง 860 เมตรเลยทีเดียว, ปากบ้อง จุดที่แม่น้ำโขงไหลพาดปะทะแนวเทือกเขาภูพานตอนปลาย การปะทะกันของพลังธรรมชาติก่อให้เกิดภูมิประเทศแสนมหัศจรรย์ ลักษณะเหมือนคอขวดเป็นจุดที่แม่น้ำโขงแคบที่สุด ส่วนที่แคบที่สุดวัดได้กว้างเพียง 56 เมตร

                 หินหัวพะเนียง เกาะหินขนาดใหญ่ขวางกลางแม่น้ำโขง ทำให้แม่น้ำโขงแยกออกเป็นสองสาย หรือสองคนในภาษาท้องถิ่นจึงเป็นที่มาของชื่อบ้านสองคอน หินหัวพะเนียงรูปร่างคล้ายอุปกรณ์ประกอบคันไถไม้ (ในภาษาไถเหล็ก) ชาวบ้านจึงเรียกว่า หินหัวพะเนียง, ผาหินศิลาเดช ร่อยรอยประวัติศาสตร์สมัยฝรั่งเศสเรืองอำนาจในแถบอินโดจีน ฝรั่งเศสเรืองอำนาจในแถบอินโดจีน ฝรั่งเศสได้นำเรือกลจักรไอน้ำขนส่งสินค้าระหว่างหลี่ผี-เวียงจันทน์ ผ่านมายังไทย มีการสลักตัวเลขที่หน้าผาหินบอกระดับน้ำในแม่น้ำโขง เพื่อความปลอดภัยในการเดินเรือ และหาดหงส์ เนินทรายแม่น้ำโขงขนาดมหึมาเกิดจากการพัดพาของน้ำและนำตะกอนทรายมาทับถมกัน จนทำให้เป็นพื้นทรายกว้างใหญ่ ช่วงเวลาที่นิยมมาเที่ยวจะเป็นช่วงก่อนพระอาทิตย์อัสดง แสงเหลืองส้มอ่อน ๆ สะท้อนกับพื้นทรายสีขาวระยิบระยับสวยงามที่สุด

                  อย่างไรก็ตามสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ องค์การบริหารส่วนตำบลสองคอน โทรศัพท์ 0 4533 8057, 0 4533 8015 และ ททท.สำนักงานอุบลราชธานี โทรศัพท์ 0 4524 3770, 0 4525 0714 เว็บไซต์ tourismthailand.org


ดินแดนแห่งทุ่งดอกกระเจียวงาม จังหวัดชัยภูมิ


                 จังหวัดชัยภูมิ ถือเป็นอีกหนึ่งสถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยมที่นักท่องเที่ยวอยากจะไปเยือน เมื่อดอกกระเจียวผลิบาน โดยเฉพาะพื้นที่ อุทยานแห่งชาติป่าหินงาม และ อุทยานแห่งชาติไทรทอง ซึ่งเป็นที่ตั้งของทุ่งดอกกระเจียวป่าสีชมพูสีสันสดใสงดงามตัดกับสีเขียวของ ลำต้นและใบหญ้า ขึ้นแทรกอยู่เป็นระยะท่ามกลางต้นหญ้าและและป่าไม้นานาชนิด

                 สำหรับ อุทยานแห่งชาติป่าหินงาม ตั้งอยู่ในท้องที่อำเภอเทพสถิต และอำเภอซับใหญ่ จังหวัดชัยภูมิ มีสภาพป่าสมบูรณ์ เป็นแหล่งต้นน้ำลำธารของลุ่มน้ำชีและแม่น้ำป่าสัก มีจุดเด่นทางธรรมชาติที่สวยงามหลายแห่ง โดยเฉพาะทุ่งดอกกระเจียวที่มีดอกสีชมพูอมม่วงชูดอกสะพรั่งในช่วงต้นฤดูฝน เท่านั้น คือ เดือนมิถุนายนถึงเดือนสิงหาคมของทุกปี โดยนับเป็นพันธุ์ไม้ประจำถิ่นที่ขึ้นมากที่สุดในประเทศไทย ณ แห่งนี้ ปกติจะพบขึ้นกระจายทั่วไปตั้งแต่ลานหินงามจนถึงจุดชมวิวสุดแผ่นดิน 1 กิโลเมตร ซึ่งทางอุทยานฯ มีการทำสะพานทางเดิน สำหรับนักท่องเที่ยวเดินไปชมความงามของทุ่งดอกกระเจียวไว้เป็นส่วน ๆ พร้อมทั้งไม่อนุญาตให้นักท่องเที่ยวลงเหยียบบนพื้นดินโดยตรง เพราะนอกจากจะไปเหยียบย่ำทำลายต้นดอกกระเจียวแล้วยังอาจเป็นการทำลายระบบ นิเวศน์ของธรรมชาติบริเวณนั้น ทั้งนี้ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทรศัพท์ 0 4489 0105 หรือเว็บไซต์ อุทยานแห่งชาติป่าหินงาม


                  อุทยานแห่งชาติไทรทอง อยู่ ในท้องที่อำเภอหนองบัวระเหว อำเภอเทพสถิต อำเภอภักดีชุมพล และอำเภอหนองบัวแดง จังหวัดชัยภูมิ มีอาณาเขตติดต่อกับอุทยานแห่งชาติป่าหินงามและอุทยานแห่งชาติภูแลนคา เป็นผืนป่าบนเทือกเขาพังเหย ในช่วงต้นฤดูฝนนอกจากผืนป่าจะเขียวชอุ่มชุ่มชื้นไปด้วยพรรณไม้น้อยใหญ่แล้ว ที่นี่ยังงดงามโดดเด่นด้วยดอกกระเจียวที่ผลิบานอยู่เต็มท้องทุ่ง เรียกชื่อว่า ทุ่งบัวสวรรค์ ที่มีทั้งดอกสีชมพูและสีขาว ซึ่งดอกกระเจียวสีขาวนี้หาดูได้ไม่ง่ายนัก โดยทุ่งดอกกระเจียวจะมีมากบริเวณสันเขาพังเหยด้านทิศตะวันตก มีทั้งหมด 5 ทุ่งใหญ่ ๆ อยู่ห่างที่ทำการอุทยานฯ ประมาณ 12 กิโลเมตร จะออกดอกสวยงามเต็มทุ่งประมาณช่วงฤดูฝน ระหว่างเดือนมิถุนายน-กลางเดือนสิงหาคมของทุกปี จะออกดอกเต็มสะพรั่งช่วงใดนั้นขึ้นอยู่กับสภาพภูมิอากาศและปริมาณน้ำฝนของ แต่ละปี ทางอุทยานฯ ได้จัดให้มีการท่องเที่ยวเชิงนิเวศโดยได้จัดให้มีเจ้าหน้าที่นำทางพานักท่อง เที่ยวเดินศึกษาธรรมชาติ และชมความงามของดอกกระเจียวที่บานชูช่อสีสดสวยงามแซมหญ้าเพ็ก ท่ามกลางแมกไม้ ขุนเขา และไอหมอกที่เย็นสบาย ทั้งนี้ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทรศัพท์ 0 89282 3437 (ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว) หรือเว็บไซต์ อุทยานแห่งชาติไทรทอง  http://park.dnp.go.th/visitor/nationparkshow.php?PTA_CODE=1077




อ่านแหล่งท่องเที่ยวเพิ่มเติมได้ที่นี่       http://www.unseentravel.com/zone/1/1
อ่านประเพณีภาคอีสานเพิ่มเติมได้ที่นี่ http://xn--k3cpjt9d6a4e.net/category/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%93%E0%B8%B5%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%AD%E0%B8%B5%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%99/



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น