ภาคเหนือ

            ภาคเหนือ          


                   ภาคเหนือ เป็นภูมิภาคที่อยู่ด้านบนสุดของไทย มีลักษณะภูมิประเทศอันประกอบไปด้วยเทือกเขาสลับซับซ้อน ที่ต่อเนื่องมาจากทิวเขาฉานโยมาในประเทศพม่า และประเทศลาว ภาคเหนือมีภูมิอากาศแบบทุ่งหญ้าสะวันนาเหมือนกับพื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศ การที่มีระดับน้ำทะเลสูงและมีเส้นละติจูดอยู่ตอนบนทำให้สภาพอากาศของภาคเหนือเปลี่ยนแปลงตามฤดูกาลอย่างเห็นได้ชัด เช่น มีฤดูหนาวที่หนาวเย็นกว่าภูมิภาคอื่น ๆ ทางด้านประวัติศาสตร์ของภาคเหนือมีความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมกับอาณาจักรล้านนา

ประวัติศาสตร์

                   บริเวณพื้นที่ภาคเหนือ แต่เดิมเป็นที่ตั้งของอาณาจักรล้านนา ซึ่งสถาปนาอาณาจักรขึ้นมาในปีพุทธศักราช 1835 โดยพญามังราย และสถาปนาเมืองหลวงอย่างเป็นทางการในปีพุทธศักราช 1839 ในชื่อนพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่ อาณาจักรล้านนาตั้งแต่ปีพุทธศักราช 1835 เกิดจากการยุบรวมกันของอาณาจักรในช่วงยุคก่อนหน้า คือ หิรัญนครเงินยางเชียงแสน และ หริภุญชัย


ภูมิศาสตร์

                    ภูมิประเทศของภาคเหนือเต็มไปด้วยเทือกเขาน้อยใหญ่สลับซับซ้อน และมีพื้นที่สำคัญของประเทศหลายจุด เช่น พื้นที่ทางด้านตะวันตกสุดของประเทศที่อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน พื้นที่ทางด้านเหนือสุดของประเทศที่อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย จุดสูงสุดของประเทศที่ดอยอินทนนท์ จังหวัดเชียงใหม่ นอกจากนี้ ภาคเหนือยังเป็นพื้นที่แรกของประเทศที่แม่น้ำโขงไหลผ่าน ซึ่งจุดแรกที่แม่น้ำโขงไหลผ่านประเทศไทยอยู่บริเวณสามเหลี่ยมทองคำ อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย


                    ภาคเหนือมีพื้นที่รวมทั้งหมด 93,690.85 ตร.กม คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 0.06 ของพื้นที่บนผิวโลก และหากเทียบจากขนาดพื้นที่แล้ว ภาคเหนือจะมีขนาดพื้นที่ใกล้เคียงกับประเทศฮังการีมากที่สุด และมีขนาดเล็กกว่าประเทศเกาหลีใต้เล็กน้อย

                     เขตแดนติดกับประเทศเพื่อนบ้านและภูมิภาคอื่น ๆ ของภาคเหนือ เรียงตามเข็มนาฬิกา ได้แก่ ทิศตะวันตกและทิศเหนือติดกับสาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า ทิศเหนือและทิศตะวันออกติดกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ทิศใต้ติดกับภาคกลาง (พิษณุโลก สุโขทัย) และภาคตะวันตก (ตาก)

การแบ่งเขตการปกครอง

                     จังหวัดในภาคเหนือ กำหนดโดยคณะกรรมการภูมิศาสตร์แห่งชาติเมื่อปี พ.ศ. 2521 และประกาศใช้โดยราชบัณฑิตยสถาน เป็นการแบ่งตามลักษณะทางภูมิศาสตร์ ประเพณี สังคม วัฒนธรรมและภาษา เป็นการแบ่งระบบ 6 ภูมิภาค ประกอบไปด้วย 9 จังหวัด ตามลักษณะภูมิภาคตามธรรมชาติที่ตั้งอยู่ในเขตภูเขา ถ้าแบ่งเป็นระบบ 4 ภูมิภาค จะมีอีก 8 จังหวัดทางภาคกลางตอนบนเพิ่มเข้ามาเป็น 17 จังหวัด

จังหวัดในภาคเหนือที่แบ่งตามราชบัณฑิตยสถานมี 9 จังหวัด ได้แก่


ชื่อจังหวัดอักษรไทย       จำนวนประชากร(คน)            พื้นที่(ตร.กม.)          ความหนาแน่น(คน/ตร.กม.)
จังหวัดเชียงราย 1,198,218                    11,678.4                     102.6
จังหวัดเชียงใหม่ 1,640,479                    20,107.0                       81.6
จังหวัดน่าน                                    476,363                    11,472.1                      41.5
จังหวัดพะเยา                                486,304                      6,335.1                       76.8
จังหวัดแพร่                                    460,756                      6,538.6                      70.5
จังหวัดแม่ฮ่องสอน    242,742                    12,681.3                     19.1
จังหวัดลำปาง                                  761,949                    12,534.0                     60.8
จังหวัดลำพูน                                  404,560                      4,505.9                     89.8
จังหวัดอุตรดิตถ์                              462,618                      7,838.6                     59.0


                   นอกจากการแบ่งตามราชบัณฑิตยสถานแล้ว ยังมีหน่วยงานที่เคยจัดแบ่งภูมิภาคของประเทศไทยขึ้นเพื่อกำหนดแผนบริหารงานด้านเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งเป็นการแบ่งภูมิภาคอย่างไม่เป็นทางการได้แก่ คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ โดยกำหนดให้ภาคเหนือประกอบด้วย 17 จังหวัดประกอบด้วย 9 จังหวัดภาคเหนือข้างต้น กับอีก 8 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดตาก พิษณุโลก สุโขทัย เพชรบูรณ์ พิจิตร กำแพงเพชร นครสวรรค์ และจังหวัดอุทัยธานี

                     จังหวัดทั้ง 9 ของภาคเหนือในการแบ่งเช่นนี้อาจเรียกว่า ภาคเหนือตอนบน ซึ่งส่วนใหญ่เคยเป็นที่ตั้งของอาณาจักรล้านนามาก่อน (สำหรับจังหวัดอุตรดิตถ์และจังหวัดตากเคยเป็นบางส่วน) และมีภาษาถิ่นเป็นคำเมือง ส่วน 8 จังหวัดที่เหลืออาจเรียกว่า ภาคเหนือตอนล่าง ซึ่งมีศูนย์กลางอยู่ที่จังหวัดพิษณุโลกและจังหวัดนครสวรรค์ อันเป็นศูนย์กลางการคมนาคมที่สำคัญ ปัจจุบันการแบ่งแบบนี้ไม่นิยมใช้อ้างอิงในเอกสารของทางราชการและบทความทางวิชาการอื่น ๆ เนื่องจากราชบัณฑิตยสถานได้กำหนดให้จังหวัดเหล่านี้ เป็นจังหวัดในเขตภาคกลาง ยกเว้นจังหวัดตากอยู่ในภาคตะวันตก

ลักษณะทั่วไปของประชากรในภาคเหนือ

จำนวนประชากร

                    ประชากรในภาคเหนือซึ่งประกอบด้วยประชากรในเขต ๙ จังหวัดรวมกันนั้นมีประชากรทั้งสิ้นประมาณ ๖ ล้านคน นับว่าเป็นภูมิภาคที่มีจำนวนประชากรพอ ๆ กับภาคใต้ แต่มีประชากรน้อยกว่าภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาค กลางมาก
                    จังหวัดที่มีประชากรมากที่สุดในภาคเหนือ ได้แก่ เชียงใหม่ จังหวัดที่มีจำนวนประชากรรองลงมา ได้แก่ เชียงราย ลำปาง พะเยา แพร่ อุตรดิตถ์ น่านและลำพูน ส่วนจังหวัดที่มีจำนวนประชากรน้อยที่สุด ได้แก่ แม่ฮ่องสอน เพราะเป็นจังหวัดที่อยู่ห่างไกลติดชายแดนและเต็มไปด้วยป่าเขา มีที่ราบระหว่างหุบเขาแคบ ๆ มีการ คมนาคมที่ยังไม่ สะดวก

ความหนาแน่นของประชากร

                     ประชากรของภาคเหนือมีความหนาแน่นเฉลี่ย ๖๗ คนต่อตารางกิโลเมตร การกระจายของประชากรในภาค เหนือมีความสัมพันธ์กับลักษณะภูมิประเทศอย่างมาก กล่าวคือ บริเวณภูมิประเทศที่ภูเขาและที่สูง จะมีประชากรอาศัยอยู่ น้อยและเบาบางมาก ได้แก่ จ.แม่ฮ่องสอน ส่วนบริเวณที่มีประชากรอยู่หนาแน่นจะอยู่ในบริเวณที่ราบ ระหว่างหุบเขา ซึ่ง เป็นแอ่งแผ่นดินที่มีลำน้ำไหลผ่านหรือมีการตัดถนนผ่าน จะเห็นได้ว่าภาคเหนือมีประชากรไม่หนาแน่นนักเมื่อเปรียบเทียบ กับภาคอื่น ๆ ทั้งนี้เนื่องจาก มีลักษณะภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นภูเขา มีข้อจำกัดในด้านเนื้อที่เพาะปลูก
                     อัตราการเพิ่มของประชากรในภาคเหนืออยู่ในเกณฑ์สูง และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นโดยการอพยพจากชนบทในที่ ห่างไกลเข้ามาสู่เมือง เพราะมีการขยายตัวทาง เศรษฐกิจ การค้าและบริการตามมา โดยเฉพาะทางด้านอุตสาหกรรมท่อง เที่ยว

การศึกษา

สถาบันอุดมศึกษาที่สำคัญในภาคเหนือ ดังนี้

  • มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปาง
  • มหาวิทยาลัยพะเยา
  • มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
  • มหาวิทยาลัยแม่โจ้
  • มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
  • เขตพื้นที่พายัพ เชียงใหม่
  • เขตพื้นที่เชียงราย
  • เขตพื้นที่ลำปาง
  • เขตพื้นที่น่าน
  • มหาวิทยาลัยราชภัฏ กลุ่มภาคเหนือ
  • วิทยาเขตเชียงใหม่
  • วิทยาเขตเชียงราย
  • วิทยาเขตลำปาง
  • วิทยาเขตอุตรดิตถ์
  • มหาวิทยาลัยพายัพ เชียงใหม่
  • มหาวิทยาลัยเนชั่น ลำปาง

วัฒนธรรมท้องถิ่นภาคเหนือ

                 เป็นวัฒนธรรมที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว โดยเฉพาะวัฒนธรรมของชาวล้านนาทั่ยงคงยึดมั่นในขบธรรมเนียมประเพณีของพระพุทธศาสนา ที่แสดงออกถึงมิตรไมตรีและความเอื่อเฟิ้อเผื่อแผ่ต่อกัน มีการสืบทอมมาเป็นระยะเวลาอันยาวนาน จึงถือเป็นมรดกทางวัฒธรรมที่สำคัญยิ่งที่คนในท้องถิ่นภาคเหนือยังรักษาไว้จนถึงปัจจุบัน ในที่นี้จะกล่าวถึงตัวอย่างวัฒธรรมที่สำคัญของภาคเหนือ ดังนี้
1.ด้านอาหาร โดยตัวอย่างของวัฒธรรมในด้านนี้ ได้แก่ ประเพณีเลี้ยงข้าวแลงขันโตกหรือกิ๋นข้าวแลงขันโตก เป็นประเพณีของชาวล้านนา ผู้ที่อาศัยอยู่ในจังหวัดทางภาคเหนือตอนบนและใช้ภาษาไทยเหนือเป็นภาษพูด มีการตกแต่งสถานที่อย่างสวยงาม มีอาหารภาคเหนือมากมายหลายชนิด เจ้าภาพและแขกเหรี่อจะแต่งกายแบบพื้นเมืองทั้งชายและหญิง งานเลี้ยงขันโตกจะเริ่มด้วยขนวบแห่นำขนวบขันโตกด้วยสาวงามช่างฟ้อนตามมาด้วยคนหากรพติบหลวง ขนวบแห่นี้จะผสมเสียงดนตรีโห่ร้องแสดงความชื่นชมยินดีเมื่อถึงงานเลี้ยงแล้วก็นำกระติบหลวงวางไว้กลางงานแล้วนำข้าวนึ่งในกระติกหลวงแบ่งปันใส่กระติกเล็กๆ แจกจ่ายไปตามโตกต่างๆ จนทั่วบริเวณงาน ซึ่งมีโตกใสสำหรับกับข้าวเตรียมไว้ก่อนแล้ว อาหารที่เรียงกันนนั้นนอกจากจะมีข้าวนึ่งเป็นหลักแล้ว ก้จะมีกับข้าวแบบของชาวเหนือ คือ แกงฮังเล แกงอ่อม แกงแค ไส้อั่ว น้ำพริกออ่อง น้ำพริกหนุ่ม แคบหมู ผักสด และของหวาน เช่น ขนมปาด ข้าวแต๋น เป็นต้น
2.ด้านศาสนาและลัทธิความเชื่อ ตัวอย่างวัฒนธรรมในด้านนี้ ได้แก่ งานทำบุญทอดผ้าป่าแถว งานทำบุญก๋วยสลากหรือการทำบุญสลากภัต (ทานสลาก) ประเพณีการสือชะตา เป็นต้น
                 1.การทำบุญทอดผ้าป่าแถวจะกระทำกันในเขตตัวอำเภอและอำเภอรอบนอกของจังหวัดกำแพงเพชร โดยกระทำพร้อมกันทุกวัดในคืนวันลอยกระทงหรือวันขึ้น 15ค่ำ เดือน 12 โดยชาวบ้านแต่ละครัวเรือนจะจัดกิ่งไม้ เทียนไข ผ้า ข้าวสาร อาหารแห้ง ผลไม้ และบริขารของใช่ต่างๆ พอตกกลางคืนเวลาราว 19.00 ชาวบ้านจะนำองค์ผ้าป่าไปไว้ในลานวัด จัดให้เป็นแนวเป็นระเบียบแร้วนำผ้าพาดบนกิ่งไม้ นำเครื่องไทยธรรมที่เตรียมไว้มาวางใต้กิ่งไม้พอถึงเวลามรรคนายวัดจะป่าวร้องให้เจ้าภาพของผ้าป่าจับสลากรายนามพระภิกษุ
เมื่อได้นามพระภิกษุแล้วเจ้าของผ้าป่าจะเอามากลัดติดไว้กับผ้าที่ห้อยอยู่บนกิ่งไม้ของตน และพากันหลบไปแอบอยู่ในเงามืดเฝ้ารอดูด้วยความสงบว่าพระภิกษุรูปใดจะมาชักผ้าป่าของตนเอง เมื่อพระภิกษุชักผ้าป่าเรียบร้อยแล้ว พรระภิกษุทุกรูปจะไปนั่งรวมกันแล้วให้ศีลเจริญพระมนต์ อวยชัยให้พร เมื่อเสร็จสิ้นเสียงพระสงฆ์ มหรสพต่างๆ จะทำการแสดงทันที

                  2. งานทำบุญตานก๋วยสลากหรือการทำบุญลากภัต( ทานสลาก) จะทำให้ช่วงวันเพ็ญเดือน 12 (วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12) ถึงเดือนเกี๋ยงดับ( วันแรม15 ค่ำ เดือน 12 ) หรือราวเดือนตุลาคม ถึง เดือนพฤศจิกายนของทุกปี ชาวเหนือหรือชาว้านนาไทยจะทำบุญสลากหรือกิ๋นก๋วยสลาก
โดยวันแรกครอบครัวหรือคณะศรัทธาจะเตรียมงานต่างๆ หรือเรียกว่า วันดา ผู้หญิงจะไปจ่ายตลาดหาซื้อของ ส่วนผู้ชายจะเหลาตอกสานก๋วยไว้หลายๆ ใบจากนั้นนำมากรุด้วยใบตองหรือกระดาษสีต่างๆ เพื่อบรรจุของกินและของใช้ เสร็จแล้วนำใบตองหรือกระดาษปิดมัดก๋วรวมกันเป็นมัดๆ สำหรับเป็นที่จับ ตรงส่วนที่รวบไว้นี้ชาวบ้านจะเสียบไม้ไผ่และสอดเงินได้เป็นเมือนยอด
ก๋วยสลากมี 2 ชนิด คือ ก๋วยสลากเล็กจะมียอดเงินไม่มากนักใช้เพื่ออุทิศส่วนกุศลไปให้ผีปู่ย่าตายายที่ล่วงลับหรืออุทิศส่วนบุญสวนกุศลเพื่อนตนเองในภายภาคหน้า ส่วนอีกชนิดหนึ่งเป็นก๋วยใหญ่ เรียกว่า สลากโจ้ก (สลากโชด) ส่วนมากจะจัดทำขึ้น เพื่อให้อานิสงส์แก่ตนเอง ในภพหน้าจะได้มีกินมีใช้ มั่งมี ศรีสุขเหมือนใช้ชาตินี้
งานทำบุญตานก๋วยสลากหรืองานบุญสลากภัตมีคติสอนใจให้เรารู้จักรักใคร่สามัคคีกัน เกิดความปรองดองในหมู่คณะญาติพี่น้องและเพื่อนบ้าน ขณะเดียวกันในทางกันในทางคติธรรมจะมีคติสอนใจพระสงฆ์และสามารถมิให้ยึดติดในสลากภัตทั้งหลาย โดยเฉพาะก๋วยสลากที่ญาติโยมนำมาถวายนั้นอาจมีบ้างเล็กบ้งใหญ่บ้าง มีเงินมากน้อยต่างกัน การจับสลากจึงยังผลให้พระสงฆ์รู้จักกอเลส การทำบุญโดยไม่เจาะจงงพระผู้รับสิ่งที่บริจาคนี้ ถือเป็นการทำความดีเพื่อความดีจริงๆ ตามอุดมการณ์ เพื่อความสุขของจิตใจโดยแท้
                   3.งานประเพณีสืบชะตาหรือการต่อายุด้รับอิทธิพลจากพระพุทธศาสนากระทำขึ้นเพื่อยืดชีวิตด้วยการทำพีธีเพื่อให้เกิดพลังรอดพ้นความตายได้ เป็นประเพณีที่คนล้านนานิยมกระทำจนถึงทุกวันนี้ ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ ประเพณีสืบชะตา ประเพณีการสืบชะตาบ้าน และสืบชะตาเมือง
การสืบชะตาเกิดขึ้นเมื่อเกิดความเจ็บป่วย หรือหมอดูทายทักว่าชะตาไม่ดี ชะตาขาด ควรทำพีธีสะเดาะเคราะห์และสืบชะตาอายุเสีย จะแคล้วคลาดจากโรคภัยและอยู่ด้วยความสวัสดีตลอดไป และซึ่งป็นเช่นเดียวกับการสืบชะตาบ้านและการืบชะตาเมืองอันเป็นอุบายให้ญาติพี่น้องและผู้เกี่ยวขิองมารวมกัน เพื่อให้กำลังใจและปรึษาหาหรือในการแกไขปัญหาบ้าน ปัญหาเมืองให้เสร็จลุร่วงไป
ตัวอย่างที่กล่าวมาข้างต้นเป็นวัฒธรรมที่ผู้คนทางภาคเมืองของไทย ได้กระทำสืบทอดกันมานาน นอกจากนี้ ยังมีอีกมากมาย เช่น ปอยส่างลองหรืองานบวชลูกแก้วเป็นามเณรในพุทธ

แม่ฮ่องสอน ปอยหลวงหรืองานมหกรรมการทำบุญของล้านนา งานสโภชพระพุทธชินราชที่จังหวัดพิษณุโลก งานทำขวัญผึ่งชาวอำเภอศีรีมาศ จังหวัดสุโขทัย งานแข่งเรือที่เป็นตำนานกีฬาของชาวบ้านลุ่มแม่น้ำ ในจังหวัดพิจิตร และน่าน งานอุ้มพระดำน้ำเพื่อความอุดมสมบูรณ์ของชาวจังหวักเพชรบูรณ์ งานสู่ขวัญเพื่อสร้างพลังใจของชาวบ้าน ซึ่งเป็นประเพณีธรรมเนียมไทยทั่วทุกภูมิภาค การตีเหล็กน้ำพี้ของตำบลน้ำพี้ อำเภอทองแสนขัน จังหวัดอุตรดิตถ์ ประเพณีงเคราะห์ของชาวล้านนา พิธีเลี้ยงผีปู่ย่าซึ่งเป็นผีคุ้มครองจริยธรรมของสตรีล้านนาน เป็นต้น

สถานที่สำคัญ

อุทยานแห่งชาติ

ในภาคเหนือตอนบนเป็นดอยสูงสลับซับซ้อนหลายชั้น มีอุทยานแห่งชาติสำคัญหลายแห่ง เช่น

  • จังหวัดเชียงใหม่
อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์

                   อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ มีพื้นที่ครอบคลุมอยู่ในท้องที่ อำเภอจอมทอง อำเภอแม่แจ่ม อำเภอแม่วาง และ อำเภอดอยหล่อ จังหวัดเชียงใหม่ มีเนื้อที่ประมาณ 482.4 ตารางกิโลเมตร หรือ 301,500 ไร่ ประกอบไปด้วยภูเขาสูงสลับซับซ้อน มีดอยอินทนนท์ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของทิวเขาอินทนนท์ (ทิวเขาถนนธงชัยตะวันออก) เป็นยอดเขาที่สูงที่สุดในประเทศไทย

                   สภาพภูมิประเทศทั่วไปประกอบด้วยภูเขาสลับซับซ้อน มีดอยอินทนนท์เป็นยอดเขาที่สูงที่สุด สูงจากระดับน้ำทะเล 2,565 เมตร ยอดเขาที่มีระดับสูงรองลงมาคือ ดอยหัวมดหลวง สูงจากระดับน้ำทะเล 2,330 เมตร ป่าอินทนนท์นี้เป็นแหล่งกำเนิดของต้นน้ำแม่กลาง แม่ป่าก่อ แม่ปอน แม่หอย แม่ยะ แม่แจ่ม แม่ขาน และเป็นส่วนหนึ่งของต้นน้ำแม่ปิงที่ ให้พลังงานไฟฟ้าที่เขื่อนภูมิพล มีเอกลักษณ์ทางธรรมชาติที่สวยงาม เช่น น้ำตกต่างๆ โดยเฉพาะน้ำตกแม่ยะ ที่ได้ชื่อว่าสวยที่สุดของประเทศ

                  ดอยอินทนนท์ เดิมมีชื่อว่า "ดอยหลวงอ่างกา" ต่อมาได้ตั้งชื่อตามพระนามของพระเจ้าอินทวิชยนนท์ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ 7




อุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย

                    อุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย เป็นอุทยานแห่งชาติที่ตั้งอยู่ในเขตอำเภอเมือง แม่ริม และหางดง ของจังหวัดเชียงใหม่ มีพื้นที่ทั้งหมด 163,162.5 ไร่หรือประมาณ 261 ตารางกิโลเมตร จุดสูงสุดของอุทยานแห่งชาติอยู่บริเวณที่เรียกว่า ดอยปุย ซึ่งสูงกว่าระดับน้ำทะเล 1,685 เมตร อุทยานแห่งชาติแห่งนี้ประกอบด้วยป่าที่อุดมสมบูรณ์ แม้ว่าจะตั้งอยู่ใกล้ตัวเมืองเชียงใหม่มาก แต่ป่าส่วนใหญ่อยู่บนภูเขาสูงสลับซับซ้อน ภูเขาสำคัญได้แก่ ดอยสุเทพ ดอยปุย เป็นต้น นอกจากนี้ อุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย ยังเป็นที่ตั้งของสถานที่สำคัญ 2 แห่งได้แก่ วัดพระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหาร และพระตำหนักภูพิงคราชนิเวศน์


เขื่อน

                     เขื่อนสิริกิติ์ หรือที่เรียกกันในชื่อท้องถิ่นว่า เขื่อนท่าปลา จัดเป็นเขื่อนดินที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย อยู่ในอำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์กั้นแม่น้ำน่าน ที่ไหลลงมาจากอำเภอนาหมื่น จังหวัดน่าน เดิมอยู่ในความดูแลของกรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ภายหลังได้ติดตั้งโรงไฟฟ้าพลังงาน และมอบให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยเป็นผู้รับผิดชอบดูแลต่อไป ทั้งนี้พื้นที่เหนือเขื่อนเป็นแอ่งเก็บน้ำขนาดใหญ่ และเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญของจังหวัดอุตรดิตถ์ด้วย



อ่านวัฒนธรรมภาคเหนือได้ที่นี่   https://sites.google.com/site/mhutooo/wathnthrrm
อ่านแหล่งท่องเที่ยวเพิ่มเติมที่นี่  http://www.unseentravel.com/zone/1/1


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น