วันพุธที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2559

ภาคกลาง


ภาคกลาง


***ติดตามเนื้อหาข้อมูลได้ที่เว็บบทความแต่ละภาคข้างบนบล็อกนะคะ

แหล่งเกษตรกรรม      เลิศล้ำหัตถศิลป์ 
เยือนถิ่นกรุงเก่า        เสน่ห์เจ้าพระยา 
องามตาวัดพระศรี ฯ       ที่ตั้งเมืองหลวงไทย 
ลือไกลพระราชวัง      ชายฝั่งทะเลงาม 
ชื่นฉ่ำน้ำตก       มรดกภาคกลาง

ภูมิศาสตร์ภาคกลาง


แผนตลาดท่องเที่ยวปี 2558 การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ภูมิภาคภาคกลาง




ขอบคุณคลิปจากยูทูปจ้า


ภาคเหนือ


ภาคเหนือ

***ติดตามเนื้อหาข้อมูลได้ที่เว็บบทความแต่ละภาคข้างบนบล็อกนะคะ


สวยศิลป์ล้านนา      เสน่หาทะเลหมอก 
ป่าไม้งามหลายน้ำตก        มรดกประเพณี ชนเผ่ามีมาก 
หลากผ้าทอมือ เลื่องลือฟ้อนเล็บ      เก็บภาพขันโตก เสน่ห์โลกถิ่นเหนือ


ภูมิศาสตร์ภาคเหนือ



ประเพณีและวัฒนธรรมภาคเหนือ



สถานที่ท่องเที่ยวที่น่าไป




ขอบคุณคลิปจากยูทูปจ้า

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ


ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ


***ติดตามเนื้อหาข้อมูลได้ที่เว็บบทความแต่ละภาคข้างบนบล็อกนะคะ

เพลินตาปราสาทหิน เยือนถิ่น      โบราณสถาน เก่ากาลประวัติศาสตร์
ผุดผาดสาวเรณู สวยหรูไหมแพรวา      งามตาน้ำตกใส ป่าใหญ่สวย รวยไม้ดอก

ทะเลหมอกภูเขา หนาวสุด แห่งสยาม



ภูมิศาสตร์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ



ประเพณีและวัฒนธรรมภาคอีสาน


สถานทีท่องเที่ยวในภาคอีสาน



ขอบคุณคลิปจากยูทูปจ้า

ภาคใต้


ภาคใต้



***ติดตามเนื้อหาข้อมูลได้ที่เว็บบทความแต่ละภาคข้างบนบล็อกนะคะ


เสน่ห์ปะการัง เยือนยังทะเลมรกต      สวยสดป่าไม้ ไข่มุกขึ้นชื่อ เลื่องลือ 
นกน้ำ ถิ่นถ้ำกลางทะเล เสน่ห์        เรือกอและ แวะน้ำตกอุดม ชมหมู่เกาะ 
ไพเราะนกเขาชวา ศิลป์ล้ำค่าปักษ์ใต้


ภูมิศาสตร์ภาคใต้

ประเพณีและวัฒนธรรมของภาคใต้


สถานที่ท่องเที่ยว 14 จังหวัดภาคใต้



ขอบคุณคลิปจากยูทูปจ้า

ภาคตะวันออก


ภาคตะวันออก

***ติดตามเนื้อหาข้อมูลได้ที่เว็บบทความแต่ละภาคข้างบนบล็อกนะคะ

โค้งอ่าวสวยรวยทะเลเสน่ห์      เมืองผลไม้งามหาดทราย ป่าไม้อุดม 
สวนผสมมากมีอัญมณีล้ำค่าเพลินตา      เกาะใหญ่ฉ่ำใสน้ำตกชื่นฉ่ำอกเมือง 

ชายฝั่ง เยือนสุดยังตะวันออก

ภูมิศาสตร์กายภาพภาคตะวันออก

สถานที่ท่องเที่ยวภาคตะวันออก 



ขอบคุณคลิปจากยูทูปจ้า

ภาคตะวันตก


ภาคตะวันตก

***ติดตามเนื้อหาข้อมูลได้ที่เว็บบทความแต่ละภาคข้างบนบล็อกนะคะ

คำขวัญจังหวัดกาญจนบุรี

แคว้นโบราณ ด่านเจดีย์ มณีเมืองกาญจน์ สะพานข้ามแม่น้ำแคว แหล่งแร่ น้ำตก


คำขวัญจังหวัดตาก

ธรรมชาติน่ายล ภูมิพลเขื่อนใหญ่ พระเจ้าตากเกรียงไกร เมืองไม้และป่างาม

คำขวัญจังหวัดราชบุรี

คนสวยโพธาราม คนงามบ้านโป่ง เมืองโอ่งมังกร วัดขนอนหนังใหญ่ ตื่นใจถ้ำงาม ตลาดน้ำดำเนิน เพลินค้างคาวร้อยล้าน ย่านยี่สกปลาดี

คำขวัญจังหวัดประจวบคีรีขันธ์

เมืองทองเนื้อเก้า มะพร้าวสับปะรด สวยสดหาเขาถ้ำ งามล้ำน้ำใจ

คำขวัญจังหวัดเพชรบุรี

เขาวังคู่บ้าน ขนมหวานเมืองพระ เลิศล้ำศิลปะ แดนธรรมะทะเลงาม


คำขวัญจังหวัดสมุทรสงคราม

เมืองหอยหลอด ยอดลิ้นจี่ มีอุทยาน ร.2 แม่กลองไหลผ่าน นมัสการหลวงพ่อบ้านแหลม

คำขวัญจังหวัดสุพรรณบุรี.

สุพรรณบุรีเมืองยุทธหัตถี วรรณคดีขึ้นชื่อเลื่องลือพระเครื่อง รุ่งเรืองเกษตรกรรมสูงล้ำประวัติศาสตร์ แหล่งปราชญ์ศิลปิน ภาษาถิ่นชวนฟัง

ภูมิศาสตร์ ภาคตะวันตก

สถานที่ท่องเที่ยภาคตะวันตก



ขอบคุณคลิปจากยูทูปจ้า

วันจันทร์ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2559

การละเล่นพื้นบ้านพื้นเมืองแต่ละภาค

การละเล่นพื้นบ้านพื้นเมือง




               การละเล่น หมายถึง การเล่นดนตรี การเล่นเพลง การเล่นรำ การเล่นที่ต้องร่วมกันตั้งแต่ ๒ คนขึ้นไป เรียกว่า มหรสพหรือศิลปะการแสดง
  พื้นเมือง หมายถึง สิ่งที่อยู่ในท้องถิ่นนั้น ๆ

               การละเล่นพื้นเมือง หมายถึง การแสดงใด ๆ อันเป็นประเพณีนิยมในท้องถิ่นและเล่นกันใน ระหว่างประชาชน เพื่อความสนุกสนานรื่นเริงตามฤดูกาล การแสดงต้องเป็นไปอย่างมีวัฒนธรรม มีความเรียบร้อย ใช้ถ้อยคำสุภาพ แต่งกายสุภาพถูกต้องตามความนิยมและวัฒนธรรม เหมาะสมกับสภาพท้องถิ่น สถานที่ก็ต้องจัดให้เหมาะสมกับโอกาสที่จะแสดง ซึ่งการละเล่นพื้นเมือง จะไม่เป็นอาชีพหรือเพื่อหารายได้ จะมีดนตรีหรือการขับร้อง หรือการฟ้อนรำประกอบก็ได้

การละเล่นพื้นเมือง แบ่งเป็น ๒ ประเภท คือ การแสดงพื้นเมือง และ เพลงพื้นเมือง

                การแสดงพื้นเมือง หมายถึง การละเล่นที่มีการแสดง การร่ายรำ มีเพลงดนตรีประกอบ ที่ได้วางเป็นแบบแผน และนิยมเล่นหรือถ่ายทอดสืบต่อกันมาจนแพร่หลาย
การแสดงพื้นเมือง อาจเกิดจากการบูชาบวงสรวงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เช่น ขอให้สิ่งที่ตนนับถือประทานสิ่งที่ตนปรารถนา หรือขจัดปัดเป่าสิ่งที่ไม่ปรารถนา  นอกจากนี้ ก็เป็นการแสดงเพื่อความบันเทิงรื่นเริง

                เพลงพื้นเมือง  หมายถึง  เพลงที่ชาวบ้านในท้องถิ่นนั้น ๆ ประดิษฐ์แบบแผนการร้องเพลง ไปตามความนิยม และสำเนียงภาษาพูดในท้องถิ่นของตน นิยมร้องเล่นกันในเทศกาลหรืองานที่มีการชุมนุมรื่นเริง เช่น ตรุษ สงกรานต์ ขึ้นปีใหม่ ทอดกฐิน ทอดผ้าป่า และในการลงแขกเกี่ยวข้าว นวดข้าว เป็นการเล่นที่สืบต่อกันมา
               เนื้อความของเพลงพื้นเมืองที่นิยมร้องกัน มักจะเป็นการเกี้ยวพาราสีระหว่างชายหญิง ปะทะคารมกัน ในด้านสำนวนโวหาร สิ่งสำคัญของการร้องคือ การด้นกลอนสด ร้องแก้กันด้วยปฏิภาณไหวพริบ ทำให้เกิดความสนุกสนานทั้งสองฝ่า


การละเล่นพื้นเมืองภาคเหนือ


               ในภาคเหนือ ภูมิประเทศเป็นป่าเขา ต้นน้ำลำธาร อุดมด้วยทรัพยากรธรรมชาติ การทำมาหากินสะดวกสบาย ชาวเหนือจึงมีนิสัยอ่อนโยน ยิ้มแย้มแจ่มใส มีน้ำใจไมตรี การแสดงพื้นเมืองจึงมีลีลาอ่อนช้อย งดงามและอ่อนหวาน
การแสดงพื้นเมืองภาคเหนือ เรียกกันว่า ฟ้อน มีผู้แสดงเป็นชุดเป็นหมู่ ร่ายรำท่าเหมือนกัน แต่งกายเหมือนกัน มีการแปรแถวแปรขบวนต่าง ๆ
ลักษณะของการแสดงพื้นเมือง ได้แก่

  •         ลีลาการเคลื่อนไหว  เป็นไปตามเอกลักษณ์ของแต่ละภาค
  •         เครื่องแต่งกาย  เป็นลักษณะพื้นเมืองของภาคนั้น ๆ
  •         เครื่องดนตรี  เป็นของท้องถิ่น ได้แก่ ปี่แน กลองตะโล้ดโป๊ด ฉาบใหญ่ ฆ้องโหม่ง ฆ้องหุ่ย
  •         เพลงบรรเลงและเพลงร้อง เป็นทำนองและสำเนียงท้องถิ่น


                การแสดงพื้นเมืองภาคเหนือ ได้แก่  ฟ้อนเทียน  ฟ้อนเล็บหรือฟ้อนเมือง  ฟ้อนลาวแพน  ฟ้อนรัก  ฟ้อนเงี้ยว  ฟ้อนดวงเดือน  ฟ้อนดวงดอกไม้  ฟ้อนดวงเดือน  ฟ้อนมาลัย  ฟ้อนไต  ฟ้อนดาบ  ฟ้อนโยคีถวายไฟ  ระบำชาวเขา  รำกลองสะบัดไช

เพลงพื้นเมืองภาคเหนือ  เช่น เพลงซอ เพลงชาวเหนือ เพลงดวงดอกไม้

               ตัวอย่างเพลงพื้นเมืองภาคเหนือ

เพลงซอ ทำนองซอละม้ายหญิง
  น้อยมานพอ้ายจะมาเป็นกู่ พี่มานพ ที่จุมาเป็นกู่
  อ้ายช่างมีความฮู้ ติดตั๋วท่องหา พี่มีความรู้บ้างไหม
  จะมาเป็นผัวมันต้องมีปัญญา ที่จะมาเป็นสามีต้องมีความรู้ปัญญา
  ถ้าบ่หมีวิชาเอากั๋นตึงบ่ได้ ถ้าไม่มีวิชา แต่งงานกันไม่ได้
  หากมานพจะมาเป็นผัว หากมานพจะมาเป็นสามี
  ตั๋วจะต้องมีความฮู้เอาไว้ พี่ต้องมีความรู้เอาไว
  หน้าต๋ากะหลวก ถ้าใจ่ก๋านบ่ได้ หน้าตาก็ฉลาด ถ้าใช้ทำงานไม่ได้
  แล้วไผจะเอาอ้ายมานอนโตย แล้วใครจะเอาพี่มานอนด้วย
  น้อยมานพจะมาเป็นกู่ พี่มานพจะมาเป็นคู่
  ถ้าบ่หมีความฮู้ ข้าเจ้าตึงบ่เอาเป็นผัว ถ้าไม่มีความรู้น้องก็ไม่เอา มาเป็นสามี
  สมัยเดี๋ยวอี่บัวตองตึงกั๋ว สมัยปัจจุบันนี้น้องบัวตองกลัว
  บ่มีความฮู้ติดตั๋วเอากั๋นตึงบ่ได้ ไม่มีความรู้ติดตัวแต่งงานกันไม่ได้
  ป่อแม่ข้าเจ้าตึงบ่เปิงใจ๋ พ่อแม่ของน้องจึงไม่พอใจ
  กั๋วเอาของไปชุบบ่ตาย กั๋วอับ กั๋วอาย กลัวว่าจะเอากันไปใช้เปล่าๆ
  ไปแผวปี่ แผวน้อง จิ่มแหล่นอ กลัวจะอายไปถึงพี่น้อง



อ่านเพิ่มเติ่มภาคอื่นๆได้ที่นี่ http://www.banramthai.com/html/puenmuang.html






การแสดงพื้นเมืองแต่ละภูมิภาคของไทย

การแสดงพื้นเมืองแต่ละภูมิภาคของไทย



             การแสดงพื้นเมือง  หมายถึง การแสดงที่เกิดขึ้นตามท้องถิ่นและตามพื้นที่ต่างๆ ของแต่ละภูมิภาค โดยอาจมีการพัฒนา ดัดแปลงมาจากการละเล่นพื้นเมืองของท้องถิ่นนั้นๆ

การแสดงพื้นเมือง เป็นมรดกทางวัฒนธรรมอันล้ำค่า ที่บรรพบุรุษไทยได้สั่งสม สร้างสรรค์ และสืบทอดไว้เป็นเอกลักษณ์ประจำชาติ เพื่อให้รุ่นลูกรุ่นหลานได้เรียนรู้และรักในคุณค่าในศิลปะไทยในแขนงนี้ เกิดความภาคภูมิใจในความเป็นไทย และพร้อมที่จะช่วยสืบทอด จรรโลง และธำรงไว้เป็นสมบัติของชาติสืบไป

             การแสดงพื้นเมือง เป็นการแสดงเพื่อก่อให้เกิดความสนุกสนานเพลิดเพลิน และความบันเทิงในรูปแบบต่างๆ ซึ่งจะมีลักษณะแตกต่างกันตามสภาพภูมิประเทศ สังคม วัฒนธรรม แต่ละท้องถิ่น ดังนั้นการแบ่งประเภทของการแสดงพื้นเมืองของไทย โดยทั่วไปจะแบ่งตามส่วนภูมิภาค ดังนี้

๑. การแสดงพื้นเมืองของภาคเหนือ
๒. การแสดงพื้นเมืองของภาคกลาง
๓. การแสดงพื้นเมืองของอีสาน
๔. การแสดงพื้นเมืองของใต้

            กล่าวได้ว่าการแสดงพื้นเมืองในแต่ละภาคจะมีลักษณะที่คล้ายคลึงกันในเรื่องของมูลเหตุแห่งการแสดง ซึ่งแบ่งออกได้ดังนี้

๑. แสดงเพื่อเซ่นสรวงหรือบูชาเทพเจ้า เป็นการแสดงเพือแสดงความเคารพต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ หรือเซ่นบวงสรวงดวงวิญญาณที่ล่วงลับ
๒. แสดงเพื่อความสนุกสนานในเทศกาลต่างๆ เป็นการรำเพื่อการรื่นเริง ของกลุ่มชนตามหมู่บ้าน ในโอกาสต่างๆ หรือเพื่อเกี้ยวพาราสีกันระหว่าง ชาย – หญิง
๓. แสดงเพื่อความเป็นสิริมงคล เป็นการรำเพื่อแสดงความยินดีในโอกาสต่างๆ หรือใช้ในโอกาสต้อนรับแขกผู้มาเยือน
๔. แสดงเพื่อสื่อถึงเอกลักษณ์ของท้องถิ่นอันเกี่ยวกับการประกอบอาชีพ และวัฒนธรรมประเพณีเพื่อสร้างชื่อเสียงให้เป็นที่รู้จัก

      การแสดงพื้นเมืองภาคเหนือ   ศิลปะการแสดงทางภาคเหนือ เป็นลักษณะศิลปะที่มีการผสมผสานกันระหว่างชนพื้นเมืองชาติต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นไทยลานนา  ไทยใหญ่ เงี้ยว รวมถึงพวกพม่าที่เคยเข้ามาปกครองล้านนาไทย ทำให้นาฏศิลป์หรือการแสดงที่เกิดขึ้นในภาคเหนือมีความหลากหลาย แต่ยังคงมีเอกลักษณ์เฮพาะที่แสดงถึงความนุ่มนวลของท่วงท่า และทำนองเพลงประกอบกับความไพเราะของเครื่องดนตรีประเภทเครื่องดีด สี ตี เป่า ที่มีความเด่นชัด ไม่ว่าจะเป็น เป้ยะ สล้อ ซอ ซึง และกลอง ที่ปรากฏอยู่ในการฟ้อนประเภทต่างๆ รวมทั้งการแสดงที่มีความเข้มแข็ง หนักแน่นในแบบฉบับของการตีกลองสะบัดชัย และการตบมะผาบ



             การแสดงพื้นเมืองภาคเหนือนอกจะมีลักษณะเป็นแบบพื้นเมืองเดิม ไทยลานนา  ไทยใหญ่ เงี้ยวรวมถึงพม่า ผสมกันอยู่แล้ว ยังมีลักษณะการแสดงของภาคกลางรวมอยู่ด้วย ทั้งนี้สืบเนื่องมาจากการที่ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระชายา พระนามว่าเจ้าดารารัศมี พระราชธิดาของพระเจ้าอินทวิชยานนท์ และเจ้าแม่ทิพเกสร  เจ้าเมืองเชียงใหม่ ทำให้อิทธิพลการแสดงของภาคเหนือในสมัยพระราชชายาเจ้าดารารัศมีมีลักษณะของภาคกลางปะปนอยู่บ้าง ทำให้สามารถแบ่งลักษณะการแสดงพื้นเมืองภาคเหนือได้เป็น ๓ ลักษณะ

๑.ลักษณะการฟ้อนแบบพื้นเมืองเดิม เป็นการแสดงที่มีอยู่ตามท้องถิ่นทั่วไป เช่น ฟ้อนครัวทาน ฟ้อนเล็บ ฟ้อนเทียน เป็นต้น
๒.ลักษณะการฟ้อนที่ได้รับอิทธิพลจากชาติอื่น อาทิ พม่า ไทยใหญ่ เงี้ยว เช่น ฟ้อนไต ฟ้อนโต ฟ้อนเงี้ยว เป็นต้น
๓.ลักษณะการฟ้อนแบบคุ้มหลวง เป็นการฟ้อนที่เกิดขึ้นในคุ้มของพระราชชายา เจ้าดารารัศมี ซึ่งมีลักษณะการฟ้อนของภาคกลางผสมอยู่ เช่น ฟ้อนม่านมุ้ยเชียงตา  ฟ้อนน้อยใจยา เป็นต้น

             ปัจจุบันการแสดงพื้นเมืองภาคเหนือ วิทยาลัยนาฏศิลป์เชียงใหม่ สร้างสรรค์จากท่า และทำนองเพลงพื้นเมืองล้านนา ใช้หัตกรรมพื้นบ้านเป็นอุปกรณ์ประกอบการแสดง เช่น ฟ้อนผาง ฟ้อนที เป็นต้น

 การแสดงพื้นเมืองภาคเหนือ  ได้แก่
– ฟ้อนผีมด ฟ้อนผีเม็ง เป็นการบูชาผีบรรพบุรุษ
– ฟ้อนกิงกะหลา เป็นการฟ้อนเรียนแบบนก มีลักษณะเป็นการรำคู่ เกี้ยวพาราสีหรือหยอกล้อเล่นหัวกัน
– ฟ้อนผีนางดัง เป็นการฟ้อนของชาวล้านนา นิยมเล่นในเทศกาลตรุษสงกรานต์
– ฟ้อนเจิง เป็นการฟ้อนที่แสดง ถึงศิลปะการป้องกันตัวด้วยมือเปล่า
– ฟ้อนดาบ เป็นการแสดงถึงศิลปะการป้องกันตัวด้วยมีดดาบ
– ฟ้อนจ๊าด เป็นการฟ้อนที่เล่นเป็นเรื่องราวแบบโบราณ นิยมแสดงในงานศพ และงานเทศกาลต่างๆ
– ตบมะผาบ เป็นการฟ้อนด้วยมือเปล่า โดยใช้มือตบไปตามร่างกายด้วยความรวดเร็ว เพื่อให้เกิดเสียงดัง
– ฟ้อนเล็บ เป็นการฟ้อนแบบดั้งเดิมที่มีความสวยงาม โดยผู้ฟ้อนสวมเล็บสีทอง
– ฟ้อนเทียน เป็นการฟ้อนแบบดั้งเดิมเช่นเดียวกับฟ้อนเล็บ แต่จะฟ้อนเวลากลางคืน โดยผู้ฟ้อนจะถือเทียน
– ฟ้อนม่านมุ้ยเชียงตา เป็นการฟ้อนที่พระราชชายา เจ้าดารารัศมีทรงประดิษฐ์ร่วมกับครูช่างฟ้อนของพม่า โดยใช้ท่ารำของราชสำนักพม่าผสมท่าฟ้อน โดยใช้ท่ารำของสำนักพม่าผสมท่าฟ้อนของไทย
– ฟ้อนล่องน่าน หรือฟ้อนน้อยใจยา เป็นการฟ้อนเพื่อใช้ประกอบการแสดงละครเรื่องน้อยใจยา มีลักษณะการรำคู่ระหว่างชายกับหญิง
– ฟ้อนสาวไหม เป็นการฟ้อนที่แสดงถึงกรรมวิธีการทอผ้าไหม ซึ่งเป็นอาชีพของชาวไทยภาคเหนือ
– ฟ้อนเก็บใบชา เป็นการฟ้อนที่แสดงถึงกรรมวิธีการเก็บใบชา ซึ่งเป็นอาชีพของชาวไทยภาคเหนือ
– ฟ้อนปั่นฝ้าย เป็นการฟ้อนที่นิยมแสดงเพื่อคั่นการขับซอ ผู้ฟ้อนจะแสดงกิริยาเลียนแบบการปั่นฝ้าย
– ฟ้อนหางนกยูง เป็นการฟ้อนที่ใช้หางนกยูงเป็นอุปกรณ์ประกอบ เป็นการฟ้อนเพื่อแสดงเอกลักษณ์ของชาวล้านนา มีหางนกยูงเป็นอุปกรณ์ประกอบการแสดง
– ฟ้อนที เป็นการฟ้อนโดยใช้ผู้แสดงหญิงล้วน แต่งกายพื้นเมือง ใช้ทำนองเพลงเหมยมุงเมือง
– ฟ้อนผาง เป็นการฟ้อนโดยใช้ผู้แสดงหญิงล้วน แต่งกายพื้นเมือง อุปกรณ์ประกอบการแสดง คือ ตะคันดินเผาจุดเทียน

    การแสดงพื้นเมืองภาคใต้  ด้วยเหตุที่ภาคใต้เป็นภาคที่มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศมาลาเชีย และเป็นดินแดนที่ติดทะเล ทำให้เกิดการผสมผสานทั้งทางศาสนา วัฒนธรรม และอารยธรรมจากกลุ่มชนหลายเชื้อชาติ เกี่ยวโยงถึงศาสนาและพิธีกรรม จนทำให้นาฏศิลป์ และดนตรีในภาคใต้มีลักษณะที่เป็นเครื่องบันเทิงทั้งในพิธีกรรม และพิธีชาวบ้าน รวมทั้งงานรื่นเริงโดยมีลักษณะการแสดงที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะ คือมีจังหวะที่เร่งเร้า กระฉับกระเฉง ผิดจากภาคอื่นๆ และเน้นจังหวะมากกว่าท่วงทำนอง โดยมีลักษณะที่เด่นชัดของเครื่องดนตรีประเภทเครื่องตีให้จังหวะเป็นสำคัญ ส่วนลีลาท่ารำจะมีความคล่องแคล่วว่องไว สนุกสนาน การแสดงพื้นเมืองภาคใต้มีทั้งแบบพื้นเมืองเดิม และแบบประยุกต์ที่ได้แนวความคิดมาแล้วพัฒนาขึ้นเป็นรูปแบบใหม่ หรือรับมาบางส่วนแล้วแต่งเติมเข้าไป



การแสดงพื้นเมืองภาคใต้  ได้แก่
– หนังตะลุง  เรียกว่า “หนัง” หรือ “หนังควน” ในสมัยโบราณนิยมแสดงในงานนักขัตฤกษ์ และงานฉลองต่างๆ
– ลิเกป่า เป็นการแสดงพื้นเมืองภาคใต้อีกอย่างหนึ่ง นิยมแสดงในงานทั่วไปหรือใช้ในงานแก้บน
– โนรา เป็นการแสดงแบบโบราณที่มีมาช้านาน นิยมแสดงเพื่อความเป็นสิริมงคล
– โต๊ะครึม เป็นการแสดงประกอบการเข้าทรง เพื่อบูชาสิ่งศักสิทธิ์ หรือบูชาวิญญาณบรรพบุรุษ
– สิละ เป็นศิลปะการต่อสู้ด้วยมือเปล่า
– รองเง็ง เป็นการแสดงของชาวไทยมุสลิมที่ได้รับความนิยมมาก เป็นการเต้นรำระหว่างหญิง–ชาย ในงานมงคล
– ซัมเป็ง เป็นการรำตามจังหวะเพลง แสดงในงานรื่นเริงต่างๆหรืองานต้อนรับแขกเมือง
– มะโยง เป็นศิลปะการแสดงละครของชาวไทยมุสลิมจากวังรายา เมืองปัตตานีในอดีต ใช้ผู้แสดงส่วนใหญ่เป็นผู้หญิง ยกเว้นตัวตลก พระเอกเรียกว่าเปาะโย่ง นางเอกเรียกว่ามะโยง
– ตารีกีปัส เป็นการรำพัด ซึ่งเกิดจากการผสมผสานกับการแสดงของมาเลเซียในเพลงชื่อบัวกาน่า วงดนตรีพื้นบ้านผสมสากล แสดงได้สองแบบคือชาย–หญิง และหญิงล้วน
– ร่อนแร่ เป็นการแสดงที่นำกรรมวิธีร่อนแร่มาสร้างสรรค์ลีลาท่ารำ
– ปาแต๊ะ เป็นการแสดงระบำพื้นเมือง ลีลาท่ารำนำมาจากกรรมวิธีการย้อมทำลวดลายโสร่งปาเต๊ะของไทยมุสลิม ใช้ผู้หญิงแสดงล้วน

   การแสดงพื้นเมืองของภาคกลาง   ภาคกลางเป็นภาคที่มีความอุดมสมบูรณ์ ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพด้านกสิกรรม และเกษตรกรรม ทำให้เป็นภาคที่มีความสมบูรณ์ ประชาชนมีความเป็นอยู่สุขสบาย การแสดงหรือการละเล่น ที่เกิดขึ้นจึงเป็นไปในลักษณะที่สนุกสนาน หรือเป็นการร้องเกี้ยวพาราสีกัน เช่น เพลงเรือ เพลงเกี่ยวข้าว หรือเป็นการแสดงพื้นเมืองที่สื่อให้เห็นการประกอบอาชีพ



การแสดงพื้นเมืองภาคกลาง ได้แก่
– รำโทน เป็นการรำ และการร้องของชาวบ้าน โดยมีโทนเป็นเครื่องดนตรีประกอบจังหวะ เป็นการร้อง และการรำไปตามความถนัด ไม่มีแบบแผนหรือท่ารำที่กำหนดแน่นอน
– รำกลองยาว เป็นการแสดงเพื่อความรื่นเริง ในขบวนแห่ต่างๆ ของไทยมีผู้แสดงทั้งชาย และหญิง ออกมรำเป็นคู่ๆ โดยมีผู้ตีกลองประกอบจังหวะ พร้อม ฉิ่ง ฉาบ กรับ และโหม่ง
– ระบำชาวนา เป็นวิถีชีวิตความเป็นมาที่พากันออกมาไถนาหว่าน และเก็บเกี่ยวเมื่อข้าวเจริญงอกงาม หลังจากนั้นพากันร้องรำเพลงด้วยความสนุกสนาน
– เต้นกำรำเคียว เป็นการแสดงพื้นเมืองของจังหวัดนครสวรรค์ นิยมเล่นกันตามท้องนา ผู้แสดงทั้งชายและหญิงถือเคียวมือหนึ่งถือถือรวงข้าว ร้องเกี้ยวพาราสีกันอย่างสนุกสนาน
– รำเหย่อย หรือรำพาดผ้า เป็นการละเล่นที่แสดงวิธีชีวิตอันสนุกของชาวบ้านหมู่บ้านเก่า ตำบลจระเข้เผือก อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี เป็นการร้องรำ เกี้ยวพาราสีระหว่างชาย–หญิง เริ่มการแสดงด้วยการประโคมกลองยาว จบแล้วผู้แสดงชาย–หญิง ออกรำทีละคู่

   การแสดงพื้นเมืองภาคอีสาน   ศิลปะการแสดงภาคอีสาน จะมีลักษณะคล้ายภาคเหนือ ในการรวมกลุ่มของชนชาติต่างๆ เช่นพวกไทยลาว ภูไทย ไทยพวน แสก โซ่ แต่ละกลุ่มมีลักษณะแตกต่างตามเชื้อชาติ เผ่าพันธุ์ แต่ยังมีลักษณะคล้ายคลึงกันเป็นการแสดงที่เกิดขึ้นเพื่อพิธีกรรมทางศาสนา และความสนุกสนานรื่นเริงในเทศกาลต่างๆ  การร่ายรำจะมีลักษณะเฉพาะของการเคลื่อนไหวอวัยวะส่วนต่างๆ ของร่างกาย เช่น ก้าวเท้า การวาดแขน การยกเท้า การส่ายมือ การส่ายสะโพก ที่เกิดขึ้นจากท่าทางอันเป็นธรรมชาติที่ปรากฏอยู่ในชีวิตประจำวัน แล้วนำมาประดิษฐ์หรือปรุงแต่งให้สวยงามตามแบบท้องถิ่นอีสานเช่นทำท่าทางลักษณะเเอ่นตัวแล้วโยกตัวไปมา เวลาก้าวตามจังหวะก็มีการกระแทกกระทั้นตัว ดีดขา ขยับเอว ขยับไหล่ เน้นความสนุกสนาน 
     การแสดงพื้นเมืองภาคอีสาน แสดงให้เห็นถึงพฤติกรรมของชนพื้นเมืองกับสภาพชีวิตความเป็นอยู่  การแสดงพื้นเมืองภาคอีสานจะมีทั้งการแสดงที่เป็นแบบดั่งเดิมที่มีการสืบทอดกันมา และการแสดงที่เกิดขึ้นในแต่ละท้องถิ่นเป็นไปตามความถนัดหรือความสามารถของแต่ละคน โดยไม่มีระเบียบแบบแผน



การแสดงพื้นเมืองภาคอีสาน ได้แก่
– กันตรึม เป็นการแสดงเพื่อบูชาหรือบูชาหรือบวงสรวงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ใช้ในงานพิธีกรรมต่างๆ
– ฟ้อนภูไท เป็นการฟ้อนเพื่อบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ หรือเพื่อแสดงความกตัญญูต่อบรรพบุรุษ และฟ้อนในงานประเพณีต่างๆ
– เซิ้งตังหวาย เป็นการแสดงเพื่อถวายสิ่งศักดิ์สิทธิ์ หรือในงานพิธีกรรมต่างๆ
– เซิ้งบั้งไฟ เป็นการฟ้อนในพิธีบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ และในพิธีกรรมที่เกี่ยวกับการขอฝน
– เรือมจับกรับ เป็นการแสดงที่ใช้ผู้ชายถือกรับออกมาร่ายรำไปตามจังหวะเพลงโดยไม่มีแบบแผน หรือทำท่าที่แน่นอน เป็นการรำเพื่อความสนุกสนาน
– เรือมอันเร หรือ กระทบไม้ บางทีก็เรียกว่า แสกเต้นสาก เป็นการแสดงที่ใช้ไม้ไผ่มากระทบกันตามจังหวะเพลง แล้วผู้รำก็กระโดดข้ามไม้ด้วยท่าทางต่างๆ
– มวยโบราณ เป็นศิลปะการต่อสู้ที่แสดงถึงความกล้าหาญ เข้มแข็ง นิยมแสดงในเทศกาลต่างๆ






ที่สุดของประเทศไทย ด้านภูมิศาสตร์

ที่สุดของประเทศไทย

ด้านภูมิศาสตร์


- จังหวัดที่มีพื้นที่มากที่สุด : จังหวัดนครราชสีมา 20,493.964 ตารางกิโลเมตร ตามมาด้วย จังหวัดเชียงใหม่ 20,107.057 ตารางกิโลเมตร และจังหวัดกาญจนบุรี 19,483.148 ตารางกิโลเมตร ส่วนกรุงเทพมหานคร มีพื้นที่เพียง 1,568.737 ตารางกิโลเมตร คิดเป็นอันดับที่ 69 ของประเทศ หรือเล็กกว่าจังหวัดนครราชสีมา 13 เท่า (ข้อมูลจาก กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย พ.ศ. 2553)

            - จังหวัดที่มีพื้นที่น้อยที่สุด : จังหวัดสมุทรสงคราม มีพื้นที่เพียง 416.707 ตารางกิโลเมตร เล็กกว่าจังหวัดนครราชสีมา ถึง 49 เท่า รองลงมาคือ จังหวัดภูเก็ต 543.034 ตารางกิโลเมตร และจังหวัดนนทบุรี 622.303 ตารางกิโลเมตร (ข้อมูลจาก กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย พ.ศ. 2553)

            - จังหวัดที่มีประชากรมากที่สุด : กรุงเทพมหานคร จำนวน 5,673,560 คน (ตามประกาศสำนักทะเบียน กรมการปกครอง ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2555)

            - จังหวัดที่มีประชากรน้อยที่สุด : ระนอง จำนวน 182,648 คน (ตามประกาศสำนักทะเบียน กรมการปกครอง ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2555) คิดแล้วน้อยกว่ากรุงเทพมหานคร ถึง 31 เท่า

            - จังหวัดที่มีความหนาแน่นของประชากรมากที่สุด : กรุงเทพมหานคร คิดเป็น 3,616 คน ต่อ 1 ตารางกิโลเมตร รองลงมาคือ จังหวัดนนทบุรี คิดเป็น 1,834 คน ต่อ 1 ตารางกิโลเมตร และสมุทรปราการ คิดเป็น 1,218 คน ต่อ 1 ตารางกิโลเมตร (ข้อมูลประชากรตามประกาศสำนักทะเบียน กรมการปกครอง ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2555)

            - จังหวัดที่มีความหนาแน่นของประชากรน้อยที่สุด : จังหวัดแม่ฮ่องสอน คิดเป็น 19.2 คน ต่อ 1 ตารางกิโลเมตร รองลงมาคือ จังหวัดตาก 32.06 คน ต่อ 1 ตารางกิโลเมตร และจังหวัดน่าน 41.6 คน ต่อ 1 ตารางกิโลเมตร (ข้อมูลประชากรตามประกาศสำนักทะเบียน กรมการปกครอง ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2555)

            - จังหวัดที่ตั้งขึ้นล่าสุด : จังหวัดบึงกาฬ จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2554

            - จังหวัดที่มีพื้นที่ติดต่อกับจังหวัดอื่นมากที่สุด : จังหวัดตาก และจังหวัดขอนแก่น ติดต่อกับจังหวัดอื่น ๆ อีก 9 จังหวัด

            - จังหวัดที่มีอำเภอมากที่สุด : จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 32 อำเภอ

            - จังหวัดที่มีอำเภอน้อยที่สุด :
 มี 3 จังหวัด คือ จังหวัดสมุทรสงคราม 3 อำเภอ (อำเภอเมืองสมุทรสงคราม, อำเภอบางคนที และอำเภออัมพวา) , จังหวัดสมุทรสาคร 3 อำเภอ (อำเภอเมืองสมุทรสาคร, อำเภอกระทุ่มแบน และอำเภอบ้านแพ้ว) และจังหวัดภูเก็ต 3 อำเภอ (อำเภอเมืองภูเก็ต, อำเภอกะทู้ และอำเภอถลาง),

            - จังหวัดที่มีอำเภอที่มีเขตติดต่อชายแดนกับประเทศเพื่อนบ้านทุกอำเภอ : จังหวัดแม่ฮ่องสอน และจังหวัดประจวบคีรีขันธ์

            - จังหวัดที่มีอำเภอที่มีเขตติดต่อกับทะเลด้านอ่าวไทยทุกอำเภอ : จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

            - อำเภอที่ตั้งอยู่ทางเหนือสุด : อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย

            - อำเภอที่ตั้งอยู่ทางตะวันตกสุด : อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน

            - อำเภอที่ตั้งอยู่ทางตะวันออกสุด :
 อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี

            - อำเภอที่ตั้งอยู่ทางใต้สุด : 
 อำเภอเบตง จังหวัดยะลา

            - อำเภอที่มีขนาดใหญ่ที่สุด : อำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก มีพื้นที่ 4,325 ตารางกิโลเมตร

            - อำเภอที่มีขนาดเล็กที่สุด : อำเภอเกาะสีชัง จังหวัดชลบุรี มีพื้นที่ 17 ตารางกิโลเมตร

            - ส่วนที่ยาวที่สุดของไทย : จากอำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย ถึงอำเภอเบตง จังหวัดยะลา ระยะทาง 1,620 กิโลเมตร

            - ส่วนที่กว้างที่สุดของไทย : จากตำบลช่องเม็ก อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี ถึงด่านเจดีย์สามองค์ อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี ระยะทาง 750 กิโลเมตร

            - ส่วนที่แคบที่สุดของไทย : ตำบลคลองวาฬ อำเภอเมือง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ กว้างเพียง 10.6 กิโลเมตร

            - บริเวณที่แคบที่สุดของคาบสมุทรภาคใต้ : คอคอดกระ จังหวัดระนอง กว้าง 50 กิโลเมตร

            - จังหวัดที่มีเกาะมากที่สุด : จังหวัดพังงา 155 เกาะ รองลงมาคือ จังหวัดกระบี่ 154 เกาะ และจังหวัดสุราษฎร์ธานี 108 เกาะ

            - เกาะที่มีขนาดใหญ่ที่สุด : เกาะภูเก็ต พื้นที่ 543 ตารางกิโลเมตร  

            - ทะเลสาบขนาดใหญ่ที่สุด : ทะเลสาบสงขลา จังหวัดสงขลา มีพื้นที่ประมาณ 1,040 ตารางกิโลเมตร

            - ทะเลสาบน้ำจืดขนาดใหญ่ที่สุด : บึงบอระเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์ มีเนื้อที่ 132,737 ไร่

            - เทือกเขาที่ยาวที่สุดในประเทศไทย : เทือกเขาตะนาวศรี ยาวประมาณ 834 กิโลเมตร สูงประมาณ 1,500 เมตร

            - ยอดเขาที่สูงที่สุด : ยอดดอยอินทนนท์ ในอำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ สูงจากระดับน้ำทะเล 2,565 เมตร 

           - แม่น้ำที่ยาวที่สุด : แม่น้ำชี มีความยาว 765 กิโลเมตร ไหลผ่านจังหวัดชัยภูมิ จังหวัดขอนแก่น จังหวัดมหาสารคาม จังหวัดร้อยเอ็ด จังหวัดยโสธร และไหลไปบรรจบกับแม่น้ำมูลที่บ้านวังยาง ตำบลบุ่งหวาย อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี

           - น้ำตกที่สูงที่สุดในประเทศไทย : น้ำตกทีลอซู จังหวัดตาก มีความสูงประมาณ 300 เมตร  






วันศุกร์ที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

เรียนรู้ 6 ภูมิภาคของไทยตามภูมิศาสตร์

สวัสดีจ้า ^__^


ยินดีต้อนรับเข้าสู่อาณาจักรแห่งความรู้
กับดิฉัน นางสาวรัชฎาพร  วรวงษ์ นิสิตชั้นปีที่ 1
คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม




วันพฤหัสบดีที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

สื่อการเรียนการสอน MOOC

MOOC


ลองมารู้จัก MOOC กันคร่าวๆนะคะ



ทั้งนี้ผู้จัดทำก็หวังว่าจะเป็นประโยชน์แก้ผู้อ่านผู้ชมทุกท่านไม่มากก็น้อย ขอบคุณมากๆค่ะที่ติดตาม