วันจันทร์ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2559

การละเล่นพื้นบ้านพื้นเมืองแต่ละภาค

การละเล่นพื้นบ้านพื้นเมือง




               การละเล่น หมายถึง การเล่นดนตรี การเล่นเพลง การเล่นรำ การเล่นที่ต้องร่วมกันตั้งแต่ ๒ คนขึ้นไป เรียกว่า มหรสพหรือศิลปะการแสดง
  พื้นเมือง หมายถึง สิ่งที่อยู่ในท้องถิ่นนั้น ๆ

               การละเล่นพื้นเมือง หมายถึง การแสดงใด ๆ อันเป็นประเพณีนิยมในท้องถิ่นและเล่นกันใน ระหว่างประชาชน เพื่อความสนุกสนานรื่นเริงตามฤดูกาล การแสดงต้องเป็นไปอย่างมีวัฒนธรรม มีความเรียบร้อย ใช้ถ้อยคำสุภาพ แต่งกายสุภาพถูกต้องตามความนิยมและวัฒนธรรม เหมาะสมกับสภาพท้องถิ่น สถานที่ก็ต้องจัดให้เหมาะสมกับโอกาสที่จะแสดง ซึ่งการละเล่นพื้นเมือง จะไม่เป็นอาชีพหรือเพื่อหารายได้ จะมีดนตรีหรือการขับร้อง หรือการฟ้อนรำประกอบก็ได้

การละเล่นพื้นเมือง แบ่งเป็น ๒ ประเภท คือ การแสดงพื้นเมือง และ เพลงพื้นเมือง

                การแสดงพื้นเมือง หมายถึง การละเล่นที่มีการแสดง การร่ายรำ มีเพลงดนตรีประกอบ ที่ได้วางเป็นแบบแผน และนิยมเล่นหรือถ่ายทอดสืบต่อกันมาจนแพร่หลาย
การแสดงพื้นเมือง อาจเกิดจากการบูชาบวงสรวงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เช่น ขอให้สิ่งที่ตนนับถือประทานสิ่งที่ตนปรารถนา หรือขจัดปัดเป่าสิ่งที่ไม่ปรารถนา  นอกจากนี้ ก็เป็นการแสดงเพื่อความบันเทิงรื่นเริง

                เพลงพื้นเมือง  หมายถึง  เพลงที่ชาวบ้านในท้องถิ่นนั้น ๆ ประดิษฐ์แบบแผนการร้องเพลง ไปตามความนิยม และสำเนียงภาษาพูดในท้องถิ่นของตน นิยมร้องเล่นกันในเทศกาลหรืองานที่มีการชุมนุมรื่นเริง เช่น ตรุษ สงกรานต์ ขึ้นปีใหม่ ทอดกฐิน ทอดผ้าป่า และในการลงแขกเกี่ยวข้าว นวดข้าว เป็นการเล่นที่สืบต่อกันมา
               เนื้อความของเพลงพื้นเมืองที่นิยมร้องกัน มักจะเป็นการเกี้ยวพาราสีระหว่างชายหญิง ปะทะคารมกัน ในด้านสำนวนโวหาร สิ่งสำคัญของการร้องคือ การด้นกลอนสด ร้องแก้กันด้วยปฏิภาณไหวพริบ ทำให้เกิดความสนุกสนานทั้งสองฝ่า


การละเล่นพื้นเมืองภาคเหนือ


               ในภาคเหนือ ภูมิประเทศเป็นป่าเขา ต้นน้ำลำธาร อุดมด้วยทรัพยากรธรรมชาติ การทำมาหากินสะดวกสบาย ชาวเหนือจึงมีนิสัยอ่อนโยน ยิ้มแย้มแจ่มใส มีน้ำใจไมตรี การแสดงพื้นเมืองจึงมีลีลาอ่อนช้อย งดงามและอ่อนหวาน
การแสดงพื้นเมืองภาคเหนือ เรียกกันว่า ฟ้อน มีผู้แสดงเป็นชุดเป็นหมู่ ร่ายรำท่าเหมือนกัน แต่งกายเหมือนกัน มีการแปรแถวแปรขบวนต่าง ๆ
ลักษณะของการแสดงพื้นเมือง ได้แก่

  •         ลีลาการเคลื่อนไหว  เป็นไปตามเอกลักษณ์ของแต่ละภาค
  •         เครื่องแต่งกาย  เป็นลักษณะพื้นเมืองของภาคนั้น ๆ
  •         เครื่องดนตรี  เป็นของท้องถิ่น ได้แก่ ปี่แน กลองตะโล้ดโป๊ด ฉาบใหญ่ ฆ้องโหม่ง ฆ้องหุ่ย
  •         เพลงบรรเลงและเพลงร้อง เป็นทำนองและสำเนียงท้องถิ่น


                การแสดงพื้นเมืองภาคเหนือ ได้แก่  ฟ้อนเทียน  ฟ้อนเล็บหรือฟ้อนเมือง  ฟ้อนลาวแพน  ฟ้อนรัก  ฟ้อนเงี้ยว  ฟ้อนดวงเดือน  ฟ้อนดวงดอกไม้  ฟ้อนดวงเดือน  ฟ้อนมาลัย  ฟ้อนไต  ฟ้อนดาบ  ฟ้อนโยคีถวายไฟ  ระบำชาวเขา  รำกลองสะบัดไช

เพลงพื้นเมืองภาคเหนือ  เช่น เพลงซอ เพลงชาวเหนือ เพลงดวงดอกไม้

               ตัวอย่างเพลงพื้นเมืองภาคเหนือ

เพลงซอ ทำนองซอละม้ายหญิง
  น้อยมานพอ้ายจะมาเป็นกู่ พี่มานพ ที่จุมาเป็นกู่
  อ้ายช่างมีความฮู้ ติดตั๋วท่องหา พี่มีความรู้บ้างไหม
  จะมาเป็นผัวมันต้องมีปัญญา ที่จะมาเป็นสามีต้องมีความรู้ปัญญา
  ถ้าบ่หมีวิชาเอากั๋นตึงบ่ได้ ถ้าไม่มีวิชา แต่งงานกันไม่ได้
  หากมานพจะมาเป็นผัว หากมานพจะมาเป็นสามี
  ตั๋วจะต้องมีความฮู้เอาไว้ พี่ต้องมีความรู้เอาไว
  หน้าต๋ากะหลวก ถ้าใจ่ก๋านบ่ได้ หน้าตาก็ฉลาด ถ้าใช้ทำงานไม่ได้
  แล้วไผจะเอาอ้ายมานอนโตย แล้วใครจะเอาพี่มานอนด้วย
  น้อยมานพจะมาเป็นกู่ พี่มานพจะมาเป็นคู่
  ถ้าบ่หมีความฮู้ ข้าเจ้าตึงบ่เอาเป็นผัว ถ้าไม่มีความรู้น้องก็ไม่เอา มาเป็นสามี
  สมัยเดี๋ยวอี่บัวตองตึงกั๋ว สมัยปัจจุบันนี้น้องบัวตองกลัว
  บ่มีความฮู้ติดตั๋วเอากั๋นตึงบ่ได้ ไม่มีความรู้ติดตัวแต่งงานกันไม่ได้
  ป่อแม่ข้าเจ้าตึงบ่เปิงใจ๋ พ่อแม่ของน้องจึงไม่พอใจ
  กั๋วเอาของไปชุบบ่ตาย กั๋วอับ กั๋วอาย กลัวว่าจะเอากันไปใช้เปล่าๆ
  ไปแผวปี่ แผวน้อง จิ่มแหล่นอ กลัวจะอายไปถึงพี่น้อง



อ่านเพิ่มเติ่มภาคอื่นๆได้ที่นี่ http://www.banramthai.com/html/puenmuang.html






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น